ปลากัด

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รูปสายพันธุ์ปลากัด


ปลากัดใต้

ปลากัดลูกหม้อ


ปลากัดจีน



ปลากัดลูกทุ้ง




ปลากัดหม้อ



ปลากัดเขมร




ปลากัดหม้อครีบยาว





























อนุบาลปลากัด


เมื่อการผสมพันธุ์เสร็จสิ้นลง แม่ปลาได้ไห้ไข่จำนวนมาก ให้จับแม่ปลาออกจากบ่อเพาะเลี้ยง ควรจะกระทำอย่าให้กระทบกระเทือนกับไข่ที่อยู่ในหวอด ปล่อยให้พ่อปลาคอยดูแลไข่ต่อไป ไข่ที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้ว ภายใน 36 - 48 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำ ก็จะเริ่มฟักเป็นตัว ในระยะนี้เรียกว่า "หมัดหมา" จะเกาะกันแน่นอยู่ภายในหวอด โดยมีพ่อปลาคอยดูแลอย่างใกล้ชิด ลูกปลากัดเมื่อเป็นตัวใหม่ ๆ ยังไม่สามารถว่ายน้ำได้ต้องอาศัยแขวนลอยอยู่ในหวอด เมื่อร่วงหล่นลงมา พ่อปลาจะตามลงไปอมมาพ่นไว้ในหวอด ลูกปลาในช่วงนี้ยังไม่ต้องการอาหารเพราะมีถุงไข่แดง (Yolk Sac) ติดตัวมาด้วย ดังนั้นในช่วงระยะ 2 - 3 วันแรกยังไม่จำเป็นที่จะให้อาหาร ลูกปลาในครอกหนึ่ง ๆ นั้นการเจริญเติบโตจะไม่เท่ากัน "ปลาหัวไข่" หมายถึงไข่ปลาที่ถูกรัดในทีแรก ๆ เมื่อเป็นตัวจะมีขนาดใหญ่กว่าและเจริญเติบโตได้เร็วกว่าลูกปลาที่ถูกรัดในตอนหลัง จึงควรคำนึงถึงข้อนี้ด้วยว่าลูกปลาต้องการอาหารเมื่อไร


จากการวิจัย โดยอาจารย์วันเพ็ญ มีนกาญจน์ และคณะ ถึงการเจริญเติบโตของลูกปลากัดตั้งแต่อายุได้ 1 ถึง 30 วัน พบว่า ลูกปลากัดอายุ 1 วัน ตัวอ่อนจะแขวนลอยตัวอยู่ในหวอด ส่วนหัวคล้ายลูกน้ำ บริเวณท้องจะมีถุงสะสมอาหารมองเห็นเป็นถุงกลมพบมีรงควัตถุสีดำบริเวณหัวและถุงสะสมอาหาร ลำตัวมีลักษณะสีขาวขุ่น มีเยื่อครีบเกิดขึ้นรอบ ๆ ลำตัวจะเจริญต่อไปเป็นครีบ ครีบก้น และครีบหาง สังเกตุเห็นครีบอกได้เด่นชัด เริ่มสังเกตุเห็นปากและรูก้น ตามีสีดำและเด่นชัด ลูกปลาอายุ 2 วัน ตัวอ่อนยังแขวนลอยติดกับหวอด ถุงสะสมอาหารของตัวอ่อนจะเริ่มยุบลงเล็กน้อย ปากเริ่มเปิด รูก้นยื่นจากลำตัวเห็นชัด เริ่มสังเกตุเห็นรอยแยกระหว่างกระพุ้งแก้มกับลำตัว กระดูกสันหลังเจริญดีขึ้นซึ่งเป็นแกนของลำตัว ลักษณะเป็นข้อ ๆ และก้านยื่นตามแนวเหมือนหนามเกิดขึ้นในแต่ละข้อ ลูกปลาอายุ 3 วัน ตัวอ่อนจะมีถุงอาหารยุบลงเหลือเพียงเล็กน้อย ปากเริ่มเปิด พร้อมที่จะกินอาหาร เยื่อครีบยังไม่แยกออกเป็นครีบหาง ครีบก้น ครีบหลัง และเริ่มสังเกตุเห็นระบบทางเดินอาหาร ลูกปลาอายุ 4 วัน ตัวอ่อนลูกปลาเริ่มว่ายน้ำสลับกับลอยตัวอยู่นิ่ง ๆ เป็นเวลานาน ถุงอาหารยุบหมด เห็นระบบทางเดินอาหารเด่นชัดขึ้น และมีกระเพาะลมเกิดขึ้นเหนือทางเดินอาหาร เยื่อครีบเริ่มคอดเว้าแบ่งส่วนของครีบหาง ครีบก้น และครีบหลัง ลูกปลาอายุ 5 วัน ตัวอ่อนลูกปลาจะเริ่มแข็งแรงขึ้น บริเวณท้องมีสีเข้มทึบไม่สามารถมองเห็นอวัยวะภายในได้ ส่วนของเยื่อครีบจะเกิดป็นครีบ และครีบหางเริ่มกลมมน ลูกปลาอายุได้ 6 - 9 วัน ตัวอ่อนของลูกปลาจะมีส่วนท้องหนาเพิ่มขึ้น กระดูกบริเวณส่วนหางจะโค้งงอขึ้น เริ่มสังเกตุเห็นก้านครีบของครีบหาง แต่ก้านครีบยังไม่แบ่งเป็นข้อ ๆ ลักษณะของกระดูกสันหลังเห็นข้อและหนามที่ยื่นออกมาตามข้อเด่นชัดขึ้นเรื่อย ๆ ลูกปลาอายุ 10 วัน ลูกปลาจะเริ่มหากินเหมือนกับตัวเต็มวัย เยื่อครีบแบ่งออกเป็นครีบหลัง ครีบหางมีก้านครีบ 8 ก้าน แต่ไม่แบ่งเป็นข้อ ๆ และเห็นครีบก้นอย่างชัดเจน ลูกปลาอายุ 15 วัน ลูกปลาจะเริ่มมีลำตัวทึบแสง ไม่สามารถมองเห็นอวัยวะภายใน เห็นกระเพาะลมเด่นชัด ครีบหางเปลี่ยนเป็นรูปกลมมน มีก้านครีบ 10 ก้าน ยังไม่แบ่งเป็นข้อ ๆ ลูกปลาอายุ 30 วัน ลูกปลาจะมีลำตัวหนาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนทึบแสงไม่สามารถมองเห็นอวัยวะภายใน มีรงควัตถุกระจายบริเวณลำตัวและหัวมีแถบสีดำ 2 แถบขนานกันอยู่กลางลำตัวจากหัวไปถึงโคนหาง ครีบก้นมีก้านครีบ 27 ก้าน ครีบหลัง มีก้านครีบ 11 ก้าน มีลักษณะเหมือนกับตัวเต็มวัย


การใช้อาหารทดแทนเพื่ออนุบาลลูกปลา ระยะเริ่มแรกลูกปลาต้องการอาหารโปรตีนจำนวนมาก การใช้อาหารทดแทนในช่วงแรกด้วยการใช้ไข่แดงต้มสุก ไม่ว่าจะเป็น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่นกกระทา ก็ตาม มีวิธีง่าย ๆ ที่สามารถใช้ทดแทนอาหารมีชีวิตที่มีขนาดเล็กได้ คือ ต้มไข่ให้สุกในน้ำเดือดนาน ๆ จนแข็ง นำเฉพาะไข่แดงที่ได้มาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น มาขยี้ผ่านกระชอนตาถี่ในชามที่ใส่น้ำไว้เล็กน้อย เมื่อได้ไข่แดงที่ละเอียดดีแล้วให้เทใส่ ฟ๊อกกี้ (ที่ฉีดพ่นน้ำสำหรับรีดผ้า) เติมน้ำลงไปอีก นำไปฉีดพ่นใส่แก้วน้ำที่ใส่น้ำไว้เต็มแก้ว สังเกตุดูละออองของไข่แดงในแก้วน้ำว่ามีความหนาแน่นมากน้อยเพียงใด ถ้ามีความหนาแน่นมากให้เติมน้ำลงไปอีก จนสังเกตุได้ว่าละอองไข่แดงแยกกระจายดีไม่เกาะกันเป็นกลุ่มหนาแน่น ความหนาแน่นของละอองไข่ถ้ามากและลูกปลากินไม่หมดจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ (การทดสอบเพื่อให้ทราบความหนาแน่นของละอองไข่จึงจำเป็นมาก ละอองไข่ที่ไม่หนาแน่นจะค่อย ๆ จมลงสู่ก้นบ่อเพาะอย่างช้า ๆ พอดีกับที่ลูกปลากินได้ทัน และไม่มากจนเกินไป ป้องกันน้ำเสียได้ดี) นำไปฉีดพ่นในบ่อเพาะเลี้ยงปลากัด เพื่อใช้แทนอาหารมีชีวิตได้ดีในช่วงแรกของการอนุบาลลูกปลา

การผสมพันธุ์ปลากัด




ปลากัด ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens และมีชื่อสามัญว่า Siamese Fighting Fish เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นเวลานานแล้ว ทั้งนี้เพื่อไว้ดูเล่นและเพื่อกีฬากัดปลาและเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศมานานเช่นกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย จึงเหมาะสมสำหรับผู้ที่หัดเริ่มเลี้ยงปลา ต้องการดูแลเอาใจใส่ไม่มากนัก และไม่จำเป็นที่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยมากเนื่องจากมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่เรียกว่า labyrinth โดยทำให้สามารถดึงออกซิเจนจากอากาศได้ ในธรรมชาติแล้วพบได้ทั่วไปในน้ำที่นิ่ง หรือน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ นอกจากนั้นพบในนาข้าว และกระจายทั่วไปในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลากัดเลี้ยงมีอายุเฉลี่ย 2 ปีหรือน้อยกว่านี้ปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ มีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว มีลายตามตัว ครีบ และหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวกว่าเพศเมียเล็กน้อย จากการเพาะพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ติดต่อกันมานาน ทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่สวยงามกว่าพันธุ์ดั่งเดิมมาก และจากสาเหตุนี้ทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้เป็นหลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร เป็นต้น การแพร่กระจายของปลากัดพบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลอง ฯลฯในการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ มีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเรียกกันว่า "กัดป่า หรือ กัดทุ่ง" โดยมีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบาง สีน้ำตาลขุ่น หรือเทาแกมเขียว มีการนำมาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่มีรูปร่าง แข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้นเพื่อใช้ในกีฬากัดปลาซึ่งนิยมเรียกปลากัดชนิดนี้ว่า "กัดเก่ง" นอกจากนั้นปลากัดไทยนี้ยังได้มีการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้มีสีสันสวยสด มีผู้เลี้ยงปลากัดหลายรายได้มีการพัฒนาปลากัดที่ได้จากการคัดพันธุ์และผสมข้ามพันธุ์ปลากัด โดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษณะเช่นนี้ว่าปลากัดจีน หรือ ปลากัดเขมร ซึ่งต่างประเทศรู้จัดปลากัดในนาม Siamese fighting fishในปัจจุบัน การพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดกำลังเป็นที่ยอมรับ และได้รับความนิยมจากนักเลี้ยงปลากัดเพื่อความสวยงาม แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า ปัจจุบันนี้ ปลากัดมีสีสรรสวยงามมากตั้งแต่ สีเหลืองทั้งตัว สีฟ้า Half moon มีเรื่องอ้างอิงกันมาถึงการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัด โดยใช้สภาพแวดล้อมเป็นตัวเหนี่ยวนำ ด้วยมีความเชื่อว่า ปลาที่มีสีสรรสวยงามต่าง ๆ นั้น ส่วนหนึ่งมาจากการถ่ายทอดความรู้สึกของเพศเมีย ไปยังลูกปลา ได้มีการนำเทคนิคเหล่านี้มาใช้ในบรรดานักเพาะปลาทั้งหลายโดยการวาดรูปปลากัดที่มีสีสรรตามที่ต้องการ เช่น สีเหลืองทั้งตัว ตั้งวางโดยรอบปลาเพศเมียในระหว่างที่ทำการเทียบคู่นั้น วิธีการนี้เรียกว่า Pseudo-breeding technique ถึงแม้ว่าจะไม่มีการพิสูจน์ออกมาทางวิชาการแต่ก็ได้รับการยืนยันจากนักเพาะเลี้ยงทั้งหลายว่า พบว่าคอกหนึ่ง ๆ ที่ได้ลูกปลาออกมานั้นจะมี 1 - 2 ตัวที่มีลักษณะเหมือนกับภาพที่วาดไว้







วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การหมักปลากัด


การหมักปลากัด : เมื่อเรานำปลากัดมาก่อนอื่นควรนำเป็นมาเลี้ยงในน้ำหมัก ใบหูกวาง หรือ ใบกล้วยน้ำ และควรหา กระดาษมาปิดไว้เพื่อให้ปลากัดนั้นลืมฝูง ลืมถิ่นมีผลทำให้เวลานำไปแข็งขัน นั้่นไม่ถอดใจ ไม่แพ้ง่าย ระยะเวลาการหมักนั้น ควรหมักตั้งแต่ 7-15 วัน ปลาที่มีความสมบูรณ์จะสร้าง หวอด เป็นจำนวนมากและมีขนาดใหญ่ นั้นเป็นสัญญาณของความพร้อมของปลากัด
น้ำหมักปลา : เกร็ดและหนังของปลากัด นั้นเจริญเติบโตตามอายุของปลา และ ประเภทของปลากัดก็มีส่วนเช่นกัน อย่างเช่นปลากัดที่มาจาก มาเลย์เซีย ส่วนใหญ่ มีเกร็ด และหนัง ที่หนา กว่าของไทย ปัจจุบัน ปลากัดของไทย ผู้เพาะได้นำแม่พันธุ์ และ พ่อพันธุ์ จาก ต่างประเทศมาผสมทำให้ เกร็ดและหนังของปลากัดใน ไทย ปัจจุบันค่อนข้างดี ดังนั้นไม่มีเวทย์มนต์ใดๆที่สามารถเปลี่ยนจาก หนังธรรมดา เป็นหนังเหนัยว แต่ในระหว่างการ หมักนั้น เราสามารถใช้ ใบหูกวาง และ ใบกล้วย หมักปลา เพื่อหยุดการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ตามเกร็ดและหนัง และทำให้เกร็ดและหนังมีความแน่น เกร็๋ดเรียบเนียน เวลานำไปต่อสู้ คู่ต่อสู้จะกัดไม่ค่อยเข้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กัดสายพันธุ์ของปลาด้วย


คุณสมบัติของใบไม้ที่นำมาหมักปลา.

ใบกล้วยน้ำแห้ง. หยุดการเจริญเติบโตของ แบคทีเรีย Escherichia coli, ที่ซึ่งมีผลทำให้ปลาป่วยได้และอาจเข้าไปทำลายเกร็ดและหนังใบหูกวางแห้ง. เป็นใบไม้ที่พบในประเทศไทยมากมาย . ใบไม้ชนิดนี้ทำให้เกร็ดมีความแวววาวและเรียงตัวสนิท , และดึง toxin ออกจากร่างกาย. ช่วยทำให้ปลากัดรู้สึกสบายตัว. ใบไม้ชนิดอื่นๆ. เช่น ใบกล้วย ใบสัก งวงตาลแห้ง ฯลฯ

การให้อาหารระหว่างเลี้ยงปลากัด : รูปร่างปลานั้นสำคัญมากในการแข็งขันเพราะถ้าปลากัดของเรามีรูปร่างที่อ้วนก็อาจจะมีความเชื่องช้าทำให้สู้คู่ต่อสู้ไม่ได้ และทำให้พ่ายแพ้ไปในที่สุด ถ้าปลาผอมก็อาจไม่มีแรงต่อสู้ในเวลาระยะนานๆได้ ทำให้พ่ายแพ้ได้เหมือนกันเพราะฉะนั้นในระหว่างการ หมักปลา เราควรให้อาหารให้เหมาะสมกับความสมบูรณ์ของปลาเพื่อให้ปลากัดของเรามีรูปร่างที่ดี

ธรรมดา : รูปร่างจากหัวจรดหางมีความสมส่วนกัน จากใหญ่ไปเล็ก ทำให้เราควบคุมรูปร่างได้ง่าย ควรให้ลูกน้ำ 8 - 10 ตัว ต่อวัน หรืออาจจะให้ ไรแดง หรือ ไรทะเลก็ได้ ช่วยในการขับถ่ายดี ปลารูปร่างนี้ เลี้ยงในน้ำหมัก 7 - 10 วันก็เพียงพอแล้วที่จะนำไป ฝึกฝนต่อ จะทำให้ปลากัดของคุณมีความเร็วเพิ่มขึ้นเพราะรูปร่างดี
ผอม : ถ้าปลาของคุณผอมไปควรให้อาหารเพิ่มหน่อย ลูกน้ำ 10 ตัว หรือ ไรแดง/ไรทะเล วันละช้อน ทุกวัน เลี้ยงในน้ำหมัก ประมาณ 5-7 วันก็พอเพราะปลารูปร่างดีอยู่แล้วถ้าหมักนานกว่านี้อาจทำให้ปลาอ้วนได้
อ้วน : เห็นได้โดยชัดคือตั้งแต่หัว ท้อง และ หาง ไม่มีความสมส่วนกัน ท้องใหญ่. ที่ปลาอ้วนเพราะกินอาหารเข้าไปมากและไม่ขับถ่าย. ปลากัดอ้วนต้องการการคุมอาหารนานหน่อย, ประมาณ 10 - 21 วัน แต่เราก็ยังต้องให้อาหารทุกวันแต่ลดปริมาณลงอาจจะ ให้ลูกน้ำ 6 ตัวพอ อย่างไรก็ตามในระหว่างให้อาหารควรเลือกให้ ลูกน้ำที่ตัวเล็กๆๆ เพื่อย่อยง่าย หรืออาจจะให้ไรแดงวันละช้อนเพราะไรแดงมีคุณสมบัติ ช่วยให้ขับถ่ายได้

การเปลี่ยนน้ำ

น้ำใหม่จะทำให้ปลากัดตื่นตัว บางตัวที่มีการหมักและเลี้ยงมาอย่างดี พอเปลี่ยนน้ำใหม่ ลำตัวแตกเป็นลายชะโดก็มี ฉะนั้นการเปลี่ยนน้ำควรทำดังนี้การเปลี่ยนน้ำควรทำในตอนเย็น 5 - 6 โมงเย็น ช่วง 3 วันแรก ไม่ต้องเปลี่ยนเพียงแต่ ใช้ท่อยางดูดของเสียออก และเติมน้ำใหม่เข้าไป ช่วง 5 วัน น้ำเริ่มสีเข้ม ควรเปลี่ยนน้ำ ออก 1/2 ของน้ำทั้งหมด และเติมน้ำใหม่เข้าๆไป